หุ่นยนต์


             หุ่นยนต์


หุ่นยนต์ที่ใช้ในงานอุุตสาหกรรม

การเชื่อมด้วยหุ่นยนต์คืออะไร?

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีข้อต่อและแขนติดตั้งไว้ โดยทั่วไปแล้วจะยึดอยู่บนแกนบางอย่างที่ทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวและปรับตำแหน่งได้ตามที่จำเป็น หุ่นยนต์จะได้รับการตั้งโปรแกรมมาให้ทำหน้าที่ของตนเอง ทำให้หุ่นดังกล่าวทำงานโดยอัตโนมัติเต็มรูปแบบ และแทบไม่ต้องการการควบคุมดูแลจากมนุษย์


ประโยชน์ของการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์

นอกจากตัวหุ่นยนต์เองจะมีราคาถูกลงเรื่อยๆ แล้ว ในอนาคตที่ไกลกว่านั้น หุ่นยนต์เหล่านี้ก็จะมีราคาถูกกว่าแรงงานคนอีกด้วย ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ยังมีสถานการณ์ที่ยังต้องการช่างเชื่อมที่เป็นมนุษย์อยู่ สำหรับงานเชื่อมในบางกรณีซึ่งมักจะเกิดขึ้นครั้งเดียว หรือต้องการชุดของกระบวนการเฉพาะที่คาดเดายาก การใช้ช่างเชื่อมที่เป็นมนุษย์อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากการตั้งโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำงานเฉพาะทางมากๆ เพียงครั้งเดียวหรือนานๆ ครั้งนั้นส่วนใหญ่แล้วจะสิ้นเปลืองเวลาและไม่คุ้มกับความพยายามที่ลงแรงไป





หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือสัตว์


หุ่นยนต์เลียนแบบการเคลื่อนไหวนิ้วมนุษย์





หุ่นยนต์ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบที่ทำจากวัสดุซึ่งไม่เอื้อต่อความยืดหยุ่น แต่สำหรับหุ่นยนต์ HASEL นั้นต่างออกไปเพราะมันทำมาจากถุงบรรจุของเหลวซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าแทนลักษณะของกล้ามเนื้อมนุษย์ เมื่อถึงเวลาใช้งานกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นให้ของเหลวในถุงเปลี่ยนรูปร่างไป และก่อให้เกิดการยืดหรือหดตัวขึ้นมา ซึ่งช่วยให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างยึดหยุ่นขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงความแข็งแรงไว้ได้ ลองชมคลิปตัวอย่างการสาธิตที่แทนการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์เทียบเท่ากับนิ้วมือมนุษย์กันว่าจะเป็นอย่างไร







หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแพทย์ การทหาร




หุ่นยนต์ทางการแพทย์ – ตามที่กรมแพทย์ทหารอากาศ ได้รับมอบ หุ่นยนต์ จำนวน 1 เครื่อง จากบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการพยาบาลผู้ป่วยในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในด้านความมั่นคง มิติใหม่ของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

และมิติใหม่ของการระดมสรรพกำลัง ในการนำหุ่นยนต์ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเก็บกู้วัตถุระเบิดของภาคเอกชน มาพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษาดัดแปลงเป็นหุ่นยนต์เพื่อนำไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โดยวัสดุที่ใช้สร้างหุ่นยนต์ทั้งหมดผลิตภายในประเทศ



หุ่นยนต์ที่ใช้เก็บกู้ระเบิด



 หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น

  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด

             สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  







ความคิดเห็น